ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองเป็นไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนาความเจริญด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมโดยภาพรวม เป็นสังคมวัตถุนิยม เน้นการตอบสนองความต้องการทางด้านวัตถุ และเงิน เป็นหลัก ขาดการพัฒนาทางด้านจิตใจ ให้รู้เท่าทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้น  ความเห็นแก่ตัวจึงมากขึ้นในสังคม การรวมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกันน้อยลง หวังพึ่งพิงผู้อื่นจนลืมพัฒนาตนเอง ทำให้ขาดหลักการพึ่งตนเองสถานการณ์การพัฒนาปัจจุบันจึงจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องส่งเสริมการพัฒนาตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานให้กับสังคมไทย จำเป็นที่จะต้องมีการส่งเสริมให้ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง ให้เห็นและปฏิบัติได้ผลจริงอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้เพื่อเป็นการพื้นฟูคุณธรรม จริยธรรม หรือภูมิปัญญาที่เคยมีอยู่คู่สังคมไทยให้กลับคืนมา เป็นสังคม/ชุมชนที่มีความอบอุ่น เอื้ออาทรและพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนในที่สุด องค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ จึงได้ดำเนินการ

จุดเรียนรู้เกษตรพอเพียง นายสุขสมบุญ  พรมโลกา เป็นเกษตรกรที่ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในการดำเนินงานเกษตรที่พอดี เหมาะสมกับแรง และทุนที่เรามี  การลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้เป็นช่องทางเลือกหนึ่งในการดำเนินการเกษตรสมัยใหม่  ที่นำความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่บวกับภูมิปัญญาที่มีอยู่เดิมแล้วมาผสมผสานทำให้เกิดการดำเนินการเกษตรที่สามารถต้นทุนการผลิตโดยได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมากกว่าเดิม ต่อยอดความต้องการทางตลาดได้อย่างยั่งยืน

 

 

จุดเรียนรู้เกษตรพอเพียง นายพรม  พรชัย และภรรยา    เกษตรกรที่ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทำการเกษตรอย่างหลากหลาย จัดสรรปันส่วนให้พอดีกับการบริโภค และบริมาณที่ตลาดต้องการ  มีเนื้อที่บริเวณบ้านประมาณ 6 ไร่ ปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ไม้ผลและไม้เศรษฐกิจ ทำนาอินทรีย์ประมาณ 4 ไร่ และเนื้อที่ปลูกลำใยประมาณ 40 ไร่

 

 

 

จุดเรียนรู้เกษตรพอเพียง  นายใจ๋  โชครวย เกษตรกรที่ยึดหลักปรัญญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่นำมาใช้คือการพอประมาณ มีความสุขในสิ่งที่มีอยู่ “เห็นเขามี เราอย่ามีอย่างเขา” เพราะมันจะเป็นบ่อเกิดของการอยากได้และเกิดหนี้สินขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของตน นายใจ๋  โชครวย ดำเนินการเกษตรปลูกผักไว้กินเอง นอกจากจะประหยัดค่าใช้จ่าย สุขภาพร่างกายยังแข็งแรง เพราะไม่มีสารเคมี 

 

 

จุดเรียนรู้เกษตรพอเพียง  นางนงลักษณ์  โพธิ์ศรี เกษตรกรที่น้อมนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตแบบพออยู่พอกิน ไม่เกียจคร้าน ไม่ฟุ่มเฟือยจนอัตคัดขัดสน ใช้เฉพาะที่จำเป็น กินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกทุกอย่างที่กิน มีการเตรียมความพร้อมและตั้งรับการเปลี่ยนแปลง โดยคิดทางเลือกใหม่ ๆ ไว้รับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ระวังการเป็นหนี้สิน “ถ้าหนี้มาก ลำบากมาก” ประพฤติปฏิบัติตนตามจารีตประเพณี ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และการใช้หลักธรรมนำทางชีวิต ความเป็นอยู่ของครอบครัวก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ